กายวิภาคของหัวใจ

 

                                   

กำเนิดของหัวใจ

ส่วนต่างๆของหัวใจ

ห้องหัวใจและลิ้นหัวใจ | โครงสร้างผนังของหัวใจเยื่อหุ้มหัวใจ | เส้นทางการนำไฟฟ้าในหัวใจ | เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ


กำเนิดของหัวใจ                                                           

   

  หัวใจ เริ่มก่อกำเนิดขึ้นในตัวอ่อน จากเซลล์สร้างหลอดเลือด ที่อยู่
บริเวณที่เราเรียกว่า cardiogenic plate ซึ่งเริ่มเห็นได้ในตัวอ่อน ที่มีอายุ
ประมาณ 2 สัปดาห์      

                                                    

     หลังจากนั้นเซลล์สร้างหลอดเลือดจะรวมตัวกันเกิดเป็นท่อ 2 ท่อ
ด้านซ้ายและด้านขวา และท่อทั้งสอง เคลื่อนหากันรวมกันเป็นท่อๆเดียว
ที่เราเรียกว่า Heart tube ในประมาณสัปดาห์ที่ 3

    หลังจากนั้น Heart tube จะค่อยๆดันตัวเองเข้าไปในถุงที่เราเรียกว่า ถุงเยื่อหุ้มหัวใจ และขณะ
เดียวกันก็จะมีการแบ่งส่วนภายในหัวใจเป็นห้องและลิ้นหัวใจและเส้นเลือดต่างๆ และหัวใจจะเริ่ม
เต้นในสัปดาห์ที่ 4 ช่วงที่ตัวอ่อนมีอายุประมาณ 22 วัน
    จนกระทั่งในสัปดาห์ที่ 8 เส้นเลือดแดงเอออร์ตา และเส้นเลือดแดงพัลโมนารี่ จะแยกตัวกัน
อย่างสมบูรณ์

         ตัวอ่อนอายุ 5 สัปดาห์


ส่วนต่างๆของหัวใจ

      หัวใจ เป็นอวัยวะภายใน รูปร่างคล้ายโคน โดยมีปลายโคนชี้ลงไปทางด้านล่างซ้าย ตั้งอยู่ภายใน ทรวงอก อยู่ระหว่าง ปอดทั้งสอง ข้าง ด้านหลังของกระดูกหน้าอก โดยค่อนไปทางด้านซ้าย ส่วนของหัวใจ 2ใน3 จะอยู่ทางด้านซ้าย จากแนวกึ่งกลางตัว และ 1ใน3 จะอยู่ทางด้านขวาจากแนวกึ่งกลางตัว

ขนาดของหัวใจ     หัวใจในผู้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตรในบริเวณที่กว้างสุด และ มีความหนา ประมาณ 6 เซนติเมตร
น้ำหนักของหัวใจ   ในผู้ชายมีน้ำหนักประมาณ 280-340 กรัม ในผู้หญิงมีน้ำหนักประมาณ 230-280 กรัม และหัวใจจะมีการขยายขนาด และน้ำหนักมากขี้นตามอายุ โดยในผู้ชายจะมีการขยายขนาดมากกว่าในผู้หญิง

     หัวใจ ประกอบด้วย ส่วนสำคัญต่างๆดังนี้

ห้องหัวใจและลิ้นหัวใจ
     หัวใจแบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ หัวใจห้องบนขวา(right atrium), หัวใจห้องบนซ้าย(left atrium), หัวใจห้องล่างขวา(right ventricle), หัวใจห้องล่างซ้าย(left ventricle)
            
      หัวใจห้องบนขวา มีขนาดใหญ่กว่าหัวใจห้องบนซ้าย แต่ มีผนังบางกว่าห้องบนซ้าย คือประมาณ 2 มิลลิเมตร และมีความจุ ประมาณ 57 ซีซี
      หัวใจห้องบนซ้าย มีขนาดเล็กกว่าหัวใจห้องบนขวา และมีผนังหนากว่า คือประมาณ 3 มิลลิเมตร แยกจากหัวใจห้องบนขวาโดย ผนังกั้นหัวใจส่วนบน
      หัวใจห้องล่างขวา มีรูปร่างสามเหลี่ยม ต่อจากหัวใจห้องบนขวา โดยมีลิ้นหัวใจไตรคัสปิดกั้น แบ่งหัวใจห้องบนขวาและล่างขวา ผนัง หัวใจห้องล่างขวาจะบางกว่าห้องล่างซ้ายในอัตราส่วน 1:3 แต่จะมี ความจุเท่ากับหัวใจห้องล่างซ้ายคือ ประมาณ 85 ซีซี หัวใจห้องล่าง ขวาจะต่อกับเส้นเลือดแดงพัลโมนารี่ โดยมีลิ้นหัวใจพัลโมนิคกั้นระหว่างกัน
      หัวใจห้องล่างซ้าย มีรูปร่างเป็นรูปโคน และเมื่อตัดขวางจะมีรูปร่างคล้ายวงรีหรือค่อนข้างกลม และประกอบเป็นส่วนของยอด หัวใจ โดยมีผนังหนาเป็น 3 เท่าของหัวใจห้องล่างขวา

     ลิ้นหัวใจ คนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ จากหัวใจห้องบน ไปหัวใจห้องล่างและ ออกสู่เส้น เลือดเอออร์ตา และเส้นเลือดพัลโมนารี่
            

     ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด(Tricuspid valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวา
และห้องล่างขวา ประกอบด้วยแผ่น ลิ้นหัวใจรูปสามเหลี่ยม 3 แผ่นจะเปิด
ในจังหวหัวใจคลายตัวทำให้เลือดไหลจากหัวใจห้องบน ขวาสู่ห้องล่าง
ขวา
     ลิ้นหัวใจไมตรัล(Mitral valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและหัวใจ
ห้องล่างซ้าย ประกอบด้วยแผ่นลิ้น หัวใจรูปสามเหลี่ยม 2 แผ่นจะ เปิดใน
จังหวะหัวใจคลายตัว ทำให ้เลือดไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายสู่ห้องล่างซ้าย
     ลิ้นหัวใจพัลโมนิค(Pulmonic valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างขวา
และเส้นเลือดแดง พัลโมนารี่ ประกอบด้วยแผ่นลิ้นหัวใจ 3 แผ่น รูปคล้าย
เสี้ยวพระจันทร์ โดยมีด้านนูนหันไป ทางเส้นเลือดแดง พัลโมนารี่ จะเปิด
ในจังหวะหัวใจบีบตัว ทำให้เลือดไหลจากหัวใจห้องล่างขวาไปเส้นเลือด
แดงพัลโมนารี่    
     ลิ้นหัวใจเอออร์ติค(Aortic valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและ เส้นเลือดเอออร์ตา ประกอบด้วยแผ่น ลิ้นหัวใจ 3 แผ่นรูปคล้ายเสี้ยวพระ จันทร์ โดยมี 2 แผ่นอยู่ด้านหน้าและ 1 แผ่นอยู่ด้านหลังจะเปิดในจังหวะ
หัวใจบีบตัว ทำให้เลือดไหลจากหัวใจห้องล่างซ้ายไปเส้น เลือดแดงเอออร์ตา
โครงสร้างผนังของหัวใจ ประกอบด้วย 3 ชั้นคือ
     1.แผ่นหุ้มหัวใจด้านนอก(epicardium) เป็นส่วนของแผ่นด้านในของเยื่อหุ้มหัวใจ
     2.กล้ามเนื้อหัวใจ(myocardium)
     3.ผนังหัวใจด้านใน(endocardium) เป็นแผ่นบางบุผนังด้านในของหัวใจ รวมทั้งเป็นส่วนของลิ้นหัวใจ
เยื่อหุ้มหัวใจ ลักษณะเป็นถุงรูปโคน ซึ่งมีหัวใจและส่วนต้นของเส้นเลือดแดงที่ออกจากหัวใจอยู่ภายในถุง
     เยื่อหุ้มหัวใจ ประกอบด้วยแผ่น 2 แผ่นคือแผ่นด้านนอก และแผ่นด้านในซึ่งหุ้มรอบหัวใจอยู่   ระหว่างแผ่น 2 แผ่นเป็นช่องของเยื่อหุ้ม หัวใจ ซึ่งโดยปกติแล้วช่องนี้จะแฟบปิด แต่ในภาวะที่มีโรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ อาจจะทำให้มีน้ำสะสมอยู่ในช่องดังกล่าว ซึ่งถ้ามี ปริมาณมาก จะไปกดการคลายตัวของหัวใจโดยตรง
เส้นทางการนำไฟฟ้าในหัวใจ
      หัวใจจะทำงานโดยการบีบตัวและคลายตัวได้ เกิดจากมีการกระตุ้นทางไฟฟ้าผ่าน ทางสายนำไฟฟ้า ในหัวใจ ซึ่งมีจุดกำเนิดไฟฟ้า อยู่ที SA node ซึ่งอยู่บริเวณหัวใจห้องบนขวา

      กระแสไฟฟ้าจะเดินทางจาก SA node ผ่านไปยังหัวใจห้องบนทั้ง
ซ้ายและขวา เป็นผล ให้หัวใจห้องบนทั้งสองบีบตัว ในจังหวะหัวใจคลาย
ตัว(diastole) แล้วกระแสไฟฟ้าจะเดิน ทางมายังบริเวณที่เรียกว่า AV node
ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณรอยต่อหัวใจห้องบนกับห้องล่าง

     หลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะเดินทางลงมายัง bundle of HIs แล้ว
แตกออกเป็น 2 แขนง คือแขนงด้านขวา และแขนงด้านซ้ายซี่งจะแตกออก
อีกเป็นแขนงด้านหน้าและด้านหลัง

     สุดท้ายกระแสไฟฟ้าจะเดินทางจากปลายแขนงทั้งสองไปยังเส้นใย
นำไฟฟ้าที่กระจาย อยู่ทั่วไปตามกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเราเรียกเส้นใยเหล่านี้
ว่า Purkinje fibers และทำให้กล้ามเนื้อ หัวใจห้องล่างบีบตัวในที่สุดใน
จังหวะหัวใจบีบตัว(systole)

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่าเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ มีรูเปิดอยู่ที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงเอออร์ตา แบ่งเป็น 2 เส้น คือ เส้นเลือด แดงโคโรนารี่ด้านขวา และเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย
     เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านขวา จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านขวา และกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายส่วนล่าง
     เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้ายที่เหลือทั้งหมด จะแตกออกเป็น 2 แขนง คือแขนงที่มาด้านหน้า เรียกว่า Left anterior descending artery และแขนงที่อ้อมไปด้านหลังเรียกว่า Left circumflex artery

           

back to TOP

เรียบเรียงโดย Doctor Heart

ขอขอบคุณ