เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม |
มะเร็งเต้านม โรคร้ายที่ทำลายชีวิตผู้หญิง
เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพบว่า 1 ใน 8 ของผู้หญิงอเมริกาจะเกิดมะเร็งเต้านมในช่วงชีวิต สำหรับประเทศไทยมะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับสองในสตรี รองจากมะเร็งปากมดลูก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความเจริญในแบบตะวันตก
" จากการสำรวจผู้หญิงซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพระโขนง ซึ่งพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากว่า 80 คนต่อประชากรแสนคน ในขณะที่สถิติของประชากรทั่วประเทศพบเพียง 20 คนต่อประชากรแสนคนเท่านั้น ดังนั้น ผู้หญิงในเมืองใหญ่จึงต้องระวังและตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ" ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติกล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ประจำวันที่ 9 กันยายน 2548 หน้า 42จากบทความดังกล่าวที่นำมาให้อ่านกัน จะเห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวสำหรับผู้หญิงทุกคน เนื่องจากอัตราการเกิดโรคนี้เป็นไปได้มากในปัจจุบัน เพราะจากการวิจัยและวิเคราะห์จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านม คือ
พันธุกรรม ซึ่งมีประมาณ 30% มีการสัมพันธ์กับ ประวัติครอบครัว หรือ ยีน
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด อาจจะเป็นการเพิ่มการเกิดมะเร็งเต้านมได้ (รายงานของ National Cancer Institute)
การใช้ Hormone ในเพศหญิง เช่น การใช้ยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุยังน้อย และทานเป็นเวลานานๆ หรือ การให้ Hormone ทดแทนสำหรับหญิงวัยทอง ก็สามารถเพิ่มอุบัติการณ์การเป็นมะเร็งเต้านมเล็กน้อย
ความอ้วน ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ สำหรับผู้หญิงอ้วนนอกจากจะสามารถเป็นโรคอื่นๆได้ง่าย มะเร็งเต้านมก็สามารถเป็นอีกโรคหนึ่งที่ควรระวัง โดยเฉพาะช่วงหลังหมดประจำเดือนจะสามารถเพิ่มอุบัติการณ์ได้ถึง 1.5-2.0 เท่า
การให้นมลูก ในอดีตเคยมีรายงานว่าผู้หญิงที่เคยให้นมลูกมากกว่า 36 เดือนทั้งชีวิต จะลดการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ปัจจุบันทฤษฎีนี้ก็ไม่สามารถเชื่อได้แล้ว
การเข้าสู่ระยะหมดประจำเดือน จะพบว่าการเข้าสู้ระยะหมดประจำเดือนเร็ว เช่นประจำเดือนหมด ตั้งแต่อายุก่อน 45 ปี โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมจะน้อยกว่าคนที่ประจำเดือน หมดช้า เช่น ประจำเดือนหมดอายุ 55 ปี ถึง 2เท่า
การมีบุตร พบว่าในคนที่ไม่มีบุตร มีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนมีบุตร 30-70% ยิ่งมีบุตรคนแรกอายุน้อยอุบัติการณ์จะยิ่งลดลง แต่ถ้ามีบุตรคนแรกอายุมากกว่า 30 ปี โอกาสเป็นมะเร็ง ก็จะสูงขึ้น
เนื้องอก การมีเนื้องอกที่อื่นๆ พวกนี้มักมีเรื่องของพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง โอกาสที่มีมะเร็งเต้านมก็จะสูงขึ้น กัมมันตรังสี โดนรังสีมากๆ อุบัติการณ์สูงขึ้น ตอนนั้นพบว่าคนที่อยู่ที่ญี่ปุ่นใกล้เมือง ที่โดนระเบิดปรมาณู เป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น แต่สำหรับ การฉาย X-ray พบอุบัติการณ์ที่จะเป็นมะเร็งน้อยกว่า 1%
จากปัจจัยต่างๆที่ได้ยกมานั้น จะเห็นได้ว่าผู้หญิงทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ และมะเร็งเต้านมนี้ยังสามารถเป็นต้นกำเนิดในการเป็นมะเร็งในส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นที่ทราบกันดีสำหรับทุกท่านว่าโรงมะเร็งนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเมื่อเป็นมากๆก็จะทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก แต่การรักษาโรคมะเร็งเต้านมนั้นสามารถรักษาได้ ถ้าตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นเราควรรู้จักโรคมะเร็งเต้านมให้ดีขึ้น และรู้วิธีการสำรวจและตรวจเต้าด้วยตนเอง จะได้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุและอาจจะสายไปสำหรับการรักษาก็ได้ โรคนี้เป็นโรคที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่ง เพราะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตของผู้หญิง
อาการของมะเร็งเต้านม
เริ่มด้วยการมีก้อนเล็ก ๆ ที่เต้านม มักไม่มีอาการเจ็บปวด บวม หรืออักเสบ ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อมาอาจคลำพบก้อน เต้านมมีรูปร่างผิดปกติ ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะหยาบและขรุขระ มีการดึงรั้งของหัวนม ในบางรายเมื่อบีบหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึม และเมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ อาจพบต่อน้ำเหลืองโตหรือมีอาการปวดกระดูก เป็นต้น
พัฒนาการของโรคการจะแน่ใจว่าเป็นมะเร็งเต้านมต้องผ่านการตรวจหลายวิธี เพื่อวัดขนาดของก้อนมะเร็ง ตรวจการแพร่กระจาย เพื่อตรวจหาระยะของมะเร็ง (staging) เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ตามปกติแล้วระยะของมะเร็งจะแบ่งได้ดังนี้
ขั้นที่ 0 ระยะที่มะเร็งยังไม่ลุกลาม พบเซลล์มะเร็งอยู่เฉพาะในท่อน้ำนม
ขั้นที่ 1 ก้อนมะเร็งมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 ซ.ม. ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม
ขั้นที่ 2 ก้อนมะเร็งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 ซ.ม. หรือลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว
ขั้นที่ 3 ก้อนมะเร็งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 5 ซ.ม. หรือลุกลามไปถึงผิวหนัง ผนังอก หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
ขั้นที่ 4 มะเร็งลุกลามไปถึงกระดูก ปอด หรือต่อมน้ำเหลืองที่ห่างจากเต้านมแล้ว
นอกจากนี้ในบางคนยังมีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมที่กลับมาซ้ำอีกแม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้ว
คุณเข้าข่ายอยู่ในปัจจัยเสี่ยงหรือไม่ ?
สาเหตุของมะเร็งเต้านม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเชื่อว่ามียีนส์บางตัวที่มีการกลายพันธุ์แล้วเกิดเป็นเซลส์มะเร็ง ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม อาการการกิน และฮอร์โมนเพศหญิง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
อัตราเสี่ยงของมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าของทุกๆ ระยะอายุที่เพิ่มขึ้น 10 ปี จนกระทั่งถึงวัยหมดประจำเดือน จากนั้นจะคงที่หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ผู้หญิงที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ เช่น แม่ พ่อหรือน้องสาว และลูกสาว
เคยมีก้อนเนื้องอกที่เต้านม, เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาแล้วข้างหนึ่ง
เคยได้รับรังสี, เคยเป็นมะเร็งรังไข่, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งลำไส้, เป็นโรคอ้วน
เต้านมถูกกระทบกระเทือนอยู่เสมอ และในผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย
หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก
ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
มีแม่ พี่น้อง หรือลูก เป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ปี
ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง
การใช้ยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุน้อยและใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือน จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า การรักษาด้วยฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือนมีประโยชน์มากกว่าโทษ โดยเฉพาะลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ และภาวะกระดูกพรุน
การดื่มเหล้า, สูบบุหรี่, การกินยาคุมกำเนิด หรือยาฮอร์โมนเสริม ไม่มีส่วนในการทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
ยกเว้น ในสตรีที่เกิดมะเร็งเต้านมแล้ว ถ้าได้รับฮอร์โมนสตรีเพศ มะเร็งเต้านมจะเติบโตเร็วขึ้นการตรวจเช็คเต้านมด้วยตนเอง
ในทุกๆ เดือน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเต้านมด้วยตนเองคือ 7 วันหลังมีประจำเดือน จะไม่คัดตึง คลำไม่เจ็บ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ควรเลือกตรวจวันเดียวกันของทุกเดือน เช่น ตรวจทุกวันที่ 7 ของเดือน
การตรวจเต้านมด้วยตนเองมี 3 วิธี คือ1. ยืนหน้ากระจก
1.1 ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย เปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้าง ว่ามีการบิดเบี้ยวของหัวนมหรือ มีสิ่งผิดปกติหรือไม่
1.2 ประสานมือทั้งสองข้างเหนือศรีษะ
แล้วกลับมาอยู่ในท่าเท้าสะ เอวเปรียบเทียบเต้านมทั้ง สองข้างพร้อมกับสำรวจสิ่งผิดปกติ
1.3 โค้งตัวมาข้างหน้า โดยใช้มือทั้งสองข้างวางบนเข่า หรือเก้าอี้ ในท่านี้เต้านมจะห้อยลงไปตรง ๆ หากมีสิ่งผิดปกติก็จะเห็นชัดมากขึ้น
2. นอนราบ
2.1 นอนในท่าสบาย และยกแขนข้างที่ต้องการ ตรวจเหนือศรีษะ
2.2 ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมืออีก ข้างหนึ่ง วางนิ้วให้ชิดและ เสมอกันเป็นพื้นเรียบ
2.3 เริ่มตรวจจากด้านบนของ เต้านม โดยวนมือไปให้ทั่วรอบ ๆ เต้านมจนถึงหัวนม หรือวนมือใน แนวก้นหอย
3. ขณะอาบน้ำ
3.1 ผู้หญิงที่มีเต้านม ขนาดเล็ก ให้วางมือข้าง เดียวกับเต้านมที่ต้องการ ตรวจบนศรีษะ แล้วใช้มือ อีกข้างคลำเต้านมแบบวนมือ เป็นวง หรือวนมือในแนวก้น หอย เช่นเดียวกับท่านอนราบ
3.2 ผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้อง การตรวจประคองเต้านม และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านม จากด้านบน
วิธีการคลำ 3 แบบ วิธีการคลำอาจใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ต่อไปนี้
การคลำในแนวก้นหอย
โดยเริ่มจากคลำส่วนบนของเต้านม ไปตามแนวก้นหอย จนกระทั่งถึงฐานเต้านม บริเวณรอบรักแร้
การคลำในแนวรูปลิ่ม
เริ่มคลำส่วนบนของเต้านม จนถึงฐาน แล้วกลับขึ้นสู่ยอดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนทั่วทั้งเต้านม
การคลำในแนวขึ้นลงจากใต้เต้านม ถึงกระดูกไหปลาร้า
เริ่มคลำจากใต้เต้านม ถึงกระดูกไหปลาร้า แล้วขยับนิ้วทั้งสามคลำในแนวขึ้นและลงสลับกันไปเรื่อยๆ จนทั่วทั้งเต้านม
สิ่งผิดปกติที่จะต้องรีบปรึกษาแพทย์
- ผิวหนังย่นหดตัวลักษณะเหมือนผิวฟักทอง
- เส้นเลือดดำขอด การมีสะเก็ดสีขาวหรืออาการรคัน
- พบก้อนหรือเนื้อที่เป็นไตแข็งผิดปกติ
- มีน้ำเหลืองและเลือดไหลจากหัวนม
- ผิวหนังบริเวณเต้านมมีรอยบุ๋ม รอยนูนบวม ผื่นแดง
- หัวนมถุงดึงรั้งจนผิดปกติ
- เต้านมทั้งสองข้าง ไม่อยู่ในระดับเดียวกัน
- ขนาดและรูปร่างต่างกันอย่างผิดปกติการตรวจหาเซลล์มะเร็งเต้านม
ทำได้หลายวิธีขึ้นกับหมอจะเห็นเหมาะสม เช่น
- การทำ Core Biopsy เป็นการตัดชิ้นเนื้อมาตตรวจโดยใช้เข็มเจาะ
- การเอ็กซ์เรย์เต้านมแบบ Mammogram<
ที่ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อของเต้านมได้
การทำ Core Biopsy (การตัดชิ้นเนื้อมาตรวจโดยใช้เข็มเจาะ)ใช้ในกรณีที่พบสิ่งผิดปกติในเต้านม ต้องการนำชิ้นเนื้อจากบริเวณที่ผิดปกติมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ แพทย์จะนำเข็มฉีดยาที่มีขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไป เจาะผ่านเข้าไปบริเวณที่พบสิ่งผิดปกติ และทำการตัดชิ้นเนื้อโดย Automatic Biopsy Gun(ปืนตัดชิ้นเนื้ออัติโนมัติ) โดยทั่วไปแพทย์จะทำการเจาตัด 4 - 5 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าได้ชิ้นเนื้อออกมาตรวจครบถ้วน ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที บริเวณที่มีการเจาะจะได้รับการปิดแผลแบบแน่นหนาเพื่อลดอาการเลือดออก และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง โดยทั่วไปแนะนำให้พักเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนที่จะกลับไปทำงานตามปกติ และไม่ควรยกของหนัก หรือออกกำลังกายที่หักโหมเป็นเวลา 1 สัปดาห์
ประโยชน์ที่ได้รับ จาก "การตัดชิ้นเนื้อโดยใช้เข็มเจาะ" (Core Biopsy) เมื่อเทียบกับ "การผ่าตัดชิ้นเนื้อออก" (Open Biopsy) คือ
- ลดความเจ็บปวดระหว่างและภายหลังการผ่าตัด
- ลดความชอกช้ำต่อเนื้อเต้านมที่ปกติ
- การฟื้นตัวเป็นไปได้รวดเร็วกว่า
- ขนาดรอยแผลเท่ากับขนาดรูเข็ม ซึ่งเล็กกว่าการผ่าตัดทั่วไป
- ลดค่าใช้จ่าย
- เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการรักษาต่อไปการเอ็กซ์เรย์เต้านมแบบ Mammogram
- ควรเริ่มต้นตรวจเมื่ออายุ 35 ปี โดยตรวจทุก 2 ปี หลังจากอายุ 40 ปีขึ้นไป
- ควรตรวจเป็นประจำทุกปีหรือตามคำแนะนำของแพพทย์
- กรณีที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรเริ่มตรวจแมมโมแกรมเร็วกว่าคนทั่วไป 5-10 ปี
- เป็นการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นนที่ดีและมีประสิทธิภาพ
การตรวจด้วยเครื่อง Digital Mammogram มีข้อดี ดังนี้
เมื่อเปรียบเทียบการรับรังสีของผู้รับบริการ พบว่าเครื่อง Digital Mammogram สามารถลดปริมาณรังสีลงจากเดิมประมาณ 30-60 %
ลดเวลาในการทำ Mammogram เนื่องจากไม่ต้องคอยฟิล์ม เหมือนกับเครื่องชนิดใช้ฟิล์ม สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องไปได้เลย
เมื่อทำเสร็จ ภาพจะไปปรากฏที่หน้าจอของรังสี แพทย์อ่านผลได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลารอล้างฟิล์ม ลดขั้นตอนทำให้แพทย์อ่านผลได้เร็วขึ้น
เนื่องจากข้อมูลของภาพที่ได้เป็นข้อมูล Digital เมื่อมีปัญหาภาพไม่ชัด หรือความเข้มของภาพไม่ได้ระดับ ผู้รับบริการไม่ต้องมาถ่ายซ้ำเหมือนเครื่องแบบใช้ฟิล์ม เพราะรังสีแพทย์สามารถปรับความชัดได้ จากจอแล้วขยายภาพบางส่วนตามความต้องการ จึงลดอัตราการกลับมาทำซ้ำ และลดการรับรังสีเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
ความคมชัดของภาพมีมากกว่า ทำให้รังสีแพทย์สามารถบอกตำแหน่งจุดที่สงสัย ได้ดีขึ้นกว่าเครื่องใช้ระบบฟิล์ม
ลดความเจ็บปวดระหว่างการทำ Mammogram ได้อย่างมาก เนื่องจากอุปกรณ์ของ Digital Mammogram ถูกออกแบบให้ค่อยๆ กดลงมาที่บริเวณเต้านมอย่างนุ่มนวลกว่า เครื่องใช้ฟิล์ม
สามารถตรวจหามะเร็งเต้านม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าเครื่องใช้ฟิล์มประมาณ 20-25%
ในกรณีแพทย์นัดตรวจด้วยแมมโมแกรมในปีถัดไป การเปรียบเทียบภาพทำได้ทันที โดยแพทย์ผู้ตรวจรักษาเรียกดู ภาพจากจอในห้องตรวจ โดยไม่ต้องรอค้นฟิล์มเก่า ซึ่งอาจเสื่อมสภาพได้ตามกาลเวลา
หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับคุณ สิ่งที่ควรทำคือ..
- พยายามเรียนรู้ทุก ๆ อย่างเกี่ยวกับโรคมะเเร็งเต้านม รวมทั้งวิธีการรักษาด้วย
- ถามทุกเรื่องที่มีความสงสัย และยังไม่เข้าาใจ ควรขอคำแนะนำและความเห็นจากคุณหมอที่ดูแลคุณ
- หาโอกาสคุยกับคนที่เคยรักษามะเร็งเต้านมมาแล้วการป้องกันมะเร็งเต้านม
เนื่องจากการดำเนินของโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก
การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นทำได้ดังนี้การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
เดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงหลังหมดประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์การตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้ชำนาญ
ปีละ 1 ครั้ง หลังอายุ 40 ปีการตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)
ปีละ 1 ครั้ง หลังอายุ 40 ปี
การป้องกันง่ายๆด้วยตนเองทำได้โดย- ควบคุมน้ำหนักตัวเพราะ โรคอ้วนมีความสัมพัันธ์กับโรคมะเร็งเต้านม
- รับประทานผักผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง
> - ออกกำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง
- ลดอาหารไขมัน อาหารไขมันสูงจะทำให้เสี่ยงงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้รูปร่างดี และสุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมลงอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก..ผลการวิจัยของเนอร์ส เฮลท์ สตัดดี้ ในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้หญิงที่ออกกำลังกายเฉลี่ยสัปดาห์ละ 7 ชั่วโมง หรือวันละ 1 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา อย่างน้อย 10 ปี จะมีอัตราความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมลดลงเกือบร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลยหรือออกกำลังกายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง นักวิจัยกล่าวด้วยว่า การออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว ขี่จักรยาน เต้นแอโรบิก วิ่ง และว่ายน้ำ อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่กิจกรรมอื่นๆ เช่น ทำสวน ช็อปปิ้ง และทำงานบ้าน นักวิจัยไม่ได้จัดให้อยู่ในประเภทของการออก กำลังกาย
ที่มา : ส้มโอมือ " มุมสุขภาพ " นิตยสารขวัญเรือน ฉบับที่ 719 ปักษ์แรกพฤศจิกายน 2544 หน้า 298การรักษามะเร็งเต้านม
หากว่าสตรีที่มีความน่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งเต้านม ปกติแล้วหมอจะทำการตรวจจนได้ผลที่แน่ชัดจึงวางแผนการรักษา อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัด ซึ่งหลังจากนั้นจะรักษาเพื่อยับยั้งการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง ได้แก่ การให้เคมีบำบัด (Chemotherapy) การใช้รังสีรักษา (Radiation therapy) หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormone therapy) การรักษาอาจจะใช้หลายวิธีร่วมกัน (Adjuvant therapy) หรือทางใดทางหนึ่งขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์ซึ่งแต่ละคนและขั้นของโรคแตกต่างกัน
ในสตรีที่เกิดเป็นมะเร็งเต้านมหรือแม้กระทั่งเป็นโรคอื่น ๆ ที่นำความกังวลมาให้ ก็มักจะมีความปั่นป่วนทางจิตใจได้ โดยเฉพาะเรื่องของอารมณ์ บางวันเธอผู้นั้นอาจจะรู้สึกเข้มแข็งมีกำลังใจสู้ แต่วันต่อมาเธออาจจะรู้สึกท้อแท้หวาดกลัว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา คนรอบข้างและคนในครอบครัวจะต้องทำความเข้าใจสภาพจิตใจของเขาด้วย ทุกคนควรจะเป็นผู้ให้กำลังใจกับเธอ ให้คำปรึกษา เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลในการประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติครั้งที่ 8
มีการนำเสนอความก้าวหน้าด้านการรักษา 3 แนวทาง คือ1.การฉายแสง ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถฉายแสงลงไปที่ก้อนมะเร็งโดยตรง และยังสามารถฉายแสงไปตามลักษณะรูปทรงก้อนมะเร็งได้ และยังมีวิธีการ pep scan ที่นำมาวินิจฉัยเซลล์มะเร็งที่ก่อนจะมองเห็นเป็นรูปร่าง
2.ศัลยกรรม ก่อนหน้านี้การผ่าตัดรักษามะเร็งจะต้องทำการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งเสี่ยงเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ปัจจุบันใช้วิธีการผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง และสามารถเก็บอวัยวะเอาไว้ได้ เช่นการรักษามะเร็งเต้านมจากเดิมที่ต้องตัดทิ้งทั้งเต้า แต่ขณะนี้สามารถใช้วิธีเลาะเซลล์มะเร็งออก
3.การรักษาด้วยยา ขณะนี้มียาที่สามารถรักษามะเร็งในระดับ DNA ได้ เรียกว่าสามารถรักษาแบบมีเป้าหมาย (ทาร์เกต เทอราปี)
ทั้งนี้ ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งของคนไทยมีมาตรฐานเทียบเท่ากับต่างประเทศ แต่ในการวิจัยอาจจะด้อยกว่า เนื่องจากปัญหาขาดแคลนบุคลากรอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น และองค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (IARC) ได้ร่วมมือทำวิจัยในด้านต่างๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่พบมากในประเทศกำลังพัฒนา และประเทศเอเชีย ( หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ประจำวันที่ 9 กันยายน 2548 หน้า 42 )
อย่าลืมว่า! มะเร็งเต้านมหากตรวจพบแต่แรก และรีบทำการรักษามีโอกาสรักษาให้หายขาดสูง
การดูแลเต้านม สำหรับผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป
ผู้หญิงวัย 45 ปีขึ้นไป (สตรีวัยทอง) เมื่อเริ่มเข้าวัยหมดประจำเดือน ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนจะลดลง เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน การเปลี่ยนแปลงนี้จะรวมถึงผู้หญิงที่มีความจำเป็นต้องตัดรังไข่ออกก่อนวัยอันควร แต่ฮอร์โมนนี้จะยังสามารถสร้างได้บ้างจากอวัยวะอื่นๆในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของระดับฮอร์โมนทำให้ความเต่งตึงของเต้านมจะลดลง และอาจมีอาการปวดเต้านมเป็นๆ หายๆ
การดูแลเต้านมอย่างสม่ำเสมอในวัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากโอกาการเกิดมะเร็งจะสูงที่สุดในวัยนี้ ซึ่งการดูแลเต้านมจะประกอบด้วย1. การตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปีละครั้ง
3. การตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์
การตรวจแมมโมแกรมพบก้อนที่เต้านม
การปวดเต้านม (Breast pain/Mastalgia)
พบได้บ่อยในวัยนี้ อาจปวดข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างโดยอาการปวดสัมพันธ์กับรอบเดือน ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนและระดับของฮอร์โมนที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าพบอาการปวดดังกล่าวควรได้รับการตรวจ โดยแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย
ซีสต์หรือถุงน้ำที่เต้านม (Fibrocystic change)
ถ้าตรวจพบซีสต์หรือถุงน้ำที่เต้านมในวัยนี้ หลังจากได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอนแล้วว่า ไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วยจะไม่จำเป็นต้องผ่าตัดก้อนออก ถ้ามีอาการปวดร่วมด้วยจะสามารถใช้เข็มเจาะดูดน้ำออกเท่านั้น เนื่องจากเราทราบแล้วว่าหลังจากประจำเดือนหมดแล้ว ส่วนใหญ่ซีสต์จะฝ่อและหายไปได้เอง
การเจาะซีสต์ที่เต้านม
มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)
ในทางสถิติมะเร็งเต้านมที่พบในไทยจะพบมากตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป จากความก้าวหน้าของวิวัฒนาการทางการแพทย์ทำให้เราสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกได้มากขึ้น จากการตรวจด้วยแมมโมแกรม
มะเร็งถ้าตรวจพบได้ในระยะแรกจะมีโอกาสหายขาดสูงมาก จากแมมโมแกรมอาจพบลักษณะของแคลเซียมในเนื้อเต้านม หรือพบก้อนขนาดเล็กที่ตรวจไม่พบจากการตรวจร่างกาย
อาการอื่นๆที่ควรนึกถึงมะเร็งเต้านมมีดังนี้
ก้อนที่มีขนาดโตขึ้นไม่เจ็บ ก้อนอาจคลำได้ไม่ชัดเจน
พบก้อนที่รักแร้ร่วมด้วย
ผิวหนังเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น บวมแดง มีการดึงรั้ง
มีน้ำหรือเลือดออกทางหัวนม
มีแผลที่หัวนม
ถ้าพบความผิดปกติใดๆ ดังกล่าวข้างต้นควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว ปัจจุบันนี้การรักษามะเร็งเต้านมได้ผลดีขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าในผู้ป่วยทุกรายยังต้องรับการผ่าตัด แต่อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออกทั้งข้าง (Mastectomy) เช่น ในสมัยก่อนการผ่าตัดเต้านมอกบางส่วนร่วมกับการฉายแสง จะให้ผลการรักษาที่ใกล้เคียงกับการตัดเต้านมออกทั้งข้างและยังคงรูปทรงของเต้านมไว้ได้
ผลของการใช้ฮอร์โมนเสริม (Hormone Replacement Therapy, HRT) เพื่อลดอาการข้างเคียงของการหมดประจำเดือนต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน ดังนั้นถ้ารายใดมีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเสริมควรได้รับการตรวจแมมโมแกรมก่อนเริ่มใช้การผ่าตัดมะเร็งเต้านมร่วมกับการฉายแสง
โดยที่ไม่ต้องตัดเต้านมทั้งข้าง
หลังการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมด้านซ้ายร่วมกับ
การเสริมเต้านมใหม่โดยใช้เนื้อจากบริเวณหน้าท้อง
การดูแลเต้านม สำหรับผู้หญิงอายุ 25-45 ปี
ผู้หญิงวัย 25-45 ปี จะมีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงคือ เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนอย่างสม่ำเสมอจากรังไข่ โดยที่ระดับของฮอร์โมนจะแตกต่างกันตามแต่ละช่วงรอบเดือน
เต้านมก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้เช่นกัน โดยเริ่มจากหลังมีประจำเดือนจะเป็นช่วงที่ระดับของฮอร์โมนลดลงมากที่สุด เต้านมจะไม่แน่นตึงเมื่อถึงกลางรอบเดือนเต้านมจะค่อยๆเริ่มตึงตัวจากเอสโตรเจนที่สูงขึ้นหลังไข่ตก จนถึงก่อนเริ่มมีประจำเดือนหรือประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากไข่ตกเต้านมก็จะบวมตึงมากขึ้นจนรู้สึกปวดแน่นจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น เมื่อประจำเดือนมาเต้านมก็จะคลายความตึงตัวลง การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เกิดขึ้นในผู้หญิงทุกคนแต่ระดับของอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน ทำให้เรารู้ถึงลักษณะที่ปกติของเต้านมของตนเองเมื่อมีความผิดปกติอื่นเกิดขึ้น ก็จะสามารถตรวจพบได้เร็วอาการหรือความผิดปกติที่พบได้ในผู้หญิงวัยนี้ได้แก่
การปวดเต้านมตามรอบเดือน (Cyclical Mastalgia)
อาการปวดเต้านวดตามรอบเดือนเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้บ่อย เนื่องจากเกรงว่าจะมีความผิดปกติ หรือคิดว่าเป็นอาการของมะเร็งเต้านม ในความเป็นจริงมะเร็งเต้านมมักตรวจพบก้อนก่อน และมักไม่มีอาการเจ็บปวดการปวดเต้านมเพียงอย่างเดียวโดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติอื่น คงจะไม่มีความจำเป็นต้องรับการรักษา เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ แต่ในบางครั้งถ้าอาการปวดรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจำวันควรปรึกษาแพทย์ การรักษาอาจเริ่มจากการใช้ยาบรรเทาอาการปวดทั่วไป เช่น พาราเซตตามอล ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้กลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านต่อฮอร์โมน เช่น Danazol
ซีสต์หรือถุงน้ำที่เต้านม (Fibrocystic change)
การพบซีสต์ที่เต้านมไม่ใช่เป็นโรคของเต้านม แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของเต้านมที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นของฮอร์โมน ในช่วงของรอบเดือนจะมีการสร้างสารน้ำต่างๆ ขึ้นในส่วนของเต้านม เมื่อมีการสร้างสารและการดูดกลับคืนไม่สมดุลกันก็จะเกิดเป็นถึงน้ำค้างอยู่ ซีสต์อาจจะมีขนาดโตขึ้น เล็กลงหรือหายไปได้เองตามช่วงต่างๆของรอบเดือน ซีสต์ที่ตรวจพบจากการคลำจะสามารถให้การวินิจฉัยได้แน่นอนจากการตรวจด้วยอัลตราซาวน์ หรือการเจาะดูดน้ำจากก้อน ซีสต์จะพบได้บ่อยมากในผู้หญิงวัยนี้จะอาจมีอาการปวดบริเวณก้อนร่วมด้วย หลังวัยที่หมดประจำเดือนซีสต์จะค่อยๆหายไปได้เองหลังที่ได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอนถ้าซีสต์มีขนาดเล็กอาจไม่มีความจำเป็นต้องให้การรักษา ซีสต์จะไม่เปลี่ยนไปเป็นเนื้อร้ายแม้ว่าจะปล่อยทิ้งไว้ แต่ถ้าพบซีสต์ขนาดใหญ่หรือมีอาการปวดร่วมด้วยควรเจาะดูดเอาน้ำออก ถ้าน้ำที่ดูดออกมามีเลือดปนก็จะถูกส่งไปตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเซลล์ที่ผิดปกติร่วมอยู่ด้วย
การเจาะซีสต์ที่เต้านม
เนื้องอกชนิดธรรมดาหรือก้อนไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma)
เนื้องอกชนิดนี้จะพบบ่อยในวัยรุ่นแต่ยังพบได้บ้างในวัยนี้ จากการคลำก้อยนี้จะมีลักษณะ กลิ้งไปกลิ้งมาได้หนึ่งในสามของเนื้องอกนี้อาจเล็กลงไปได้เอง หนึ่งในสามของเนื้องอกจะทีขนาดคงที่ และอีกหนึ่งในสามของเนื้องอกนี้จะมีขนาดโตขึ้น ก้อนไฟโบรอะดีโนมาคาดว่าเกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนอีกเช่นกัน โดยปกติถ้าตรวจพบเนื้องอกชนิดนี้ที่มีขนาดเล็กและก้อนไม่โตขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออก แต่เนื่องจากโอกาสของการเกิดมะเร็งจะพบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปี และตรวจพบเนื้องอกชนิดนี้ควรจะได้รับการผ่าตัดเอาก้อนออกหรือได้รับการเจาะชิ้นเนื้อก้อนนี้ไปตรวจเพิ่มเติมว่าไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย
แผลผ่าตัด และก้อนเนื้องอกไฟโบรอะดีโนมา
มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)
มะเร็งเต้านมมักพบได้ในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือการคลำพบก้อน ก้อนที่พบส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดหรือเจ็บซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยชะล่าใจ และมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติอื่นๆ ที่อาจจะพบได้คือ การมีน้ำหรือเลือดออกจากหัวนม มีแผลที่ลานหัวนม หัวนมบุ๋ม ผิวหนังของเต้านมบวมหรือถูกดึงรั้งผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สามารถรับการตรวจมะเร็งเต้านมโดยการตรวจแมมโมแกรมปีละครั้ง โดยที่จะสามารถตรวจพบมะเร็งในเริ่มแรกที่อาจตรวจไม่พบจากการตรวจร่างกาย ในปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมมีการพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลาและมีโอกาสหายขาดถ้าตรวจพบในระยะแรก การรักษาทะเร็งเต้านมจะประกอบด้วย การผ่าตัดการให้สารเคมีบำบัด และอาจให้การฉายแสงร่วมด้วย
ก้อนมะเร็งเต้านมที่ตรวจพบโดยแมมโมแกรม
การดูแลเต้านม สำหรับผู้หญิงอายุ 15-25 ปี
ผู้หญิงวัย 15-25 ปี เต้านมจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 12 ปี และแม้ว่าหลังจากเต้านมเจริญเต็มที่แล้วเต้านมยังมีการเปลี่ยนแปลงได้อีก ตามระดับฮอร์โมนเพศ เช่นในแต่ละช่วงของรอบเดือน หรือระหว่างตั้งครรภ์
ความผิดปกติของเต้านมในวัยนี้มักเกิดจากความผิดปกติของการเจริญและการพัฒนาของเต้านม การดูแลเต้านมในวัยนี้สามารถทำได้ง่ายโดยอาศัยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือนหลังจากหมดประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ การตรวจด้วยแมมโมแกรมในช่วงอายุนี้ไม่มีความจำเป็นและยังมีข้อจำกัดในการอ่านผล เนื่องจากเนื้อเต้านมมีความหนาแน่นมาก
เต้านมเกิน (Accessory breast/nipple)
การมีเต้านมเกินมักพบได้บริเวณรักแร้ บางครั้งอาจพบหัวนมเกินร่วมด้วย ซึ่งพบได้ตามแนวจากรักแร้ลงมาตามท้องถึงขาหนีบ ภาวะนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่ออายุมากขึ้นหรือในช่วงตั้งครรภ์ จากการสังเกตจะพบเป็นก้อนเนื้อห้อยบริเวณรักแร้ ภาวะนี้ไม่มีอันตรายใดๆการผ่าตัดออกจะทำในกรณีเพื่อความสวยงาม
เต้านมโตไม่เท่ากัน
เต้านมคนเรา 2 ข้างบางครั้งก็โตไม่เท่ากันได้ แต่ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันไม่มากนัก ความแน่นของเต้านมอาจไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดได้เนื่องจากเนื้อเต้านมตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศไม่เท่ากัน ถ้าหากความแตกต่างมากจนเห็นได้ชัดก็สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ การผ่าตัดสามารถทำการผ่าตัดลดขนาดเต้านมลง หรือผ่าตัดเพื่อเสริมข้างที่เล็กให้ใหญ่ขึ้นเต้านมโตเกิน (Breast hypertrophy)
เต้านมโตเกินมักเกิดขึ้นในวัยสาวช่วงอายุ 13-35 ปี เต้านมจะขยายโตขึ้นมากกว่าปกติ การมีเต้านมที่ใหญ่เกินมักจะมีผลทางด้านจิตใจโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นแต่ไม่มีอันตรายใดๆมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ถ้าเต้านมโตมากๆจนมีผลเสียต่อร่างกายสังเกตได้จากผลของน้ำหนักของเต้านมที่มากเกินไป ทำให้มีอาการปวดหลังปวดไหล่ มีจุดอับชื้นที่ราวนม ถ้ามีอาการดังกล่าวก็ควรผ่าตัดแก้ไปให้มีขนาดเต้านมที่เล็กลง
ภาวะเต้านมโตเกิน
หลังผ่าตัดลดขนาดของเต้านมหัวนมบอด (Inverted nipple)
เป็นอาการที่หัวนมบุ๋มลงไปในเต้านม เกิดจากมีความผิดปกติในช่วงการพัฒนาเต้านม มีการหยุดการเจริญของหัวนมก่อนกำหนดทำให้หัวนมหดสั้น แบะมีเนื้อที่พังผืดดึงรั้ง ถ้าหากหัวนมบอดเกิดขึ้นภายหลังวัยสาวรุ่นให้นึกเสมอว่าอาจมีความผิดปกติที่สำคัญขึ้น และเป็นอาการเตือนให้มาปรึกษาแพทย์อาการหัวนมบอดถ้าไม่มากเมื่อทำการดึงนวดบ่อยๆจะสามารถดันหัวนมให้โผล่ขึ้นมาได้ ถ้าทำการดึงนวดแล้วไม่ได้ผลก็อาจใช้วิธีต่อไปคือ การผ่าตัดหัวนมซึ่งสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ แต่บางครั้งการผ่าตัดแก้ไขก็อาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร หลังผ่าตัดไประยะหนึ่งอาจกลับเป็นซ้ำอีกได้
เนื้องอกชนิดธรรมดา หรือก้อนไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma)
การคลำพบก้อนที่เต้านมในวัยสาวสามารถทำให้เกิดความกังวลใจได้ไม่น้อย ซึ่งก้อนที่เต้านมนี้พบได้บ่อยมากในวัยนี้และเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเนื้องอกธรรมดา เนื้องอกชนิดนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศในช่วงที่มีการพัฒนาเต้านม ปกติก้อนจะมีขนาดเกิน 2 ซม. อาจพบว่าโตขึ้นได้ช้าๆ และไม่มีอาการเจ็บปวด ก้อนจะมีลักษณะกลมกลิ้งไปมาได้เวลาคลำ เนื้อเยื่อของก้อนจะประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุของท่อน้ำนมส่วนปลายและเนื้อเยื่อพังผืดการพบเนื้องอกชนิดนี้ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอนแล้วอาจไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดเอาก้อนออกเสมอไป เนื่องจากก้อนเนื้อนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้ายในภายหลัง จากการศึกษาพบว่า 1/3 ของก้อนที่พบจะยุบฝ่อลงไปได้เอง อีก 1/3 จะโตขึ้นเรื่อยๆและอีกส่วนหนึ่งจะมีขนาดคงที่
เมื่อคลำพบก้อนที่เต้านมควรมาพบแพทย์โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและอาจส่งตรวจเพิ่มเติม เช่นการทำอัลตร้าซาวน์ หรือเจาะชิ้นเนื้อ ในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่กว่า 2 ซม. หรือมีขนาดโตขึ้นแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดออก การผ่าตัดสามารถทำได้โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ ถ้าก้อนเนื้อมีขนาดเล็กและผู้ป่วยไม่มีความกังวลใจเรื่องก้อนจะไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดก้อนออก แต่จะต้องมีการตรวจเป็นระยะๆ ปัจจุบันยังไม่มียาฉีดหรือยากินที่จะรักษาก้อนเนื้อดังกล่าวให้หายไปได้
การผ่าตัดก้อนเนื้องอกไฟโบรอะดีโนมา
ซีสต์หรือถุงน้ำที่เต้านม (Fibrocystic change)
ซีสต์หรือถุงน้ำพบได้มากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น จึงพบได้น้อยกว่าก้อนเนื้อไฟโบรอะดีโนมาในวัยนี้ ซีสต์นี้เกิดจากการกระตุ้นฮอร์โมนเพศเช่นกัน บางครั้งมีการบวมๆยุบตามช่วงรอบเดือนและอาจพบอาการปวดร่วมด้วย และเช่นเดียวกับก้อนเนื้อไฟโบรอะดีโนมาซีสต์ทุกก้อนไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออกถ้าได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน ถ้าพบอาการปวดร่วมด้วยหรือซีสต์มีขนาดใหญ่เพียงการใช้เข็มเจาะดูดน้ำออกก็เป็นการเพียงพอแล้วมะเร็งเต้านม (Breast Cancer)
พบได้น้อยมากในวัยนี้ ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นเนื้อร้ายในกรณีที่ก้อนที่ตรวจพบมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ และมักไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ บางครั้งจะพบก้อนที่รักแร้ร่วมด้วยSource: